On occasion of The First Pan-Southeast Asia Triennial Serial Research Exhibition Project #3: Two responses to “participatory art”

The first Trans-Southeast Asia Triennial research exhibition series PROJECT #3 :Does it matter that we’ve just met, if our hearts understand: Two responses to social practice

November 21, 2021-January 9, 2022 Exhibition Hall 5 and Hall 6, Art Museum of Guangzhou Academy of Fine Arts, University Town, Panyu District

Unfolding Rendezvous: Relationality via Spatial Praxis

Curated by Cathleen Siming Pan

Participating Spaces/Collectives and Themes :

  • Baan Noorg Collaborative Arts and Culture: Baan Noorg is future is now: 365 days: LIFE MUSE (Thailand)
  • Los Otros: My Home is the Other (The Philippines)
  • The Observatory: Everything is vibration (Singapore)
  • Ergao Dance: Southern Dance House (China)

Participating artists and organizations: Baan Noorg Collaborative Arts & Culture , Jiandyin ( Jiradej and Pornpilai Meemalai), Rachan Klomklieng, Chaw Su and Kyaw Moe, Ma Ei, Suraporn Lertwongpaitoon, Varsha Nair, Okui Lala.

Los Otros , Shireen Seno , John Torres ,Melchor Bacani III, Raya MartinRaya Martin,Uncles and Aunts( Tito & Tita ), Jon Lazam , Jangwook Lee.

Observatory, Yeo Siew Hua , Haino Keiji , NUS Guitar Ensemble & NUS Talents , Playfreely Festival , Eric Lee , voice of Bangladesh – day ashram Banglar Kantha-Dibashram , Dan is the ( Than Naing ), Bilal Hussein , Ethan band ( Isan band ), even high-Malay ( Malay Ghosh ), Ujikaji , BlackKajiXtra x Nusasonic ( BlackKajiXtra x Nusasonic ), Second High Performance ( He Qiwo , Zhang Dianling , Liu Qingyu ), Zhang Lu

Okui Lala, How Do We Meet?  How Could We Meet? I&II, 2016
three-channel video, color, sound, min  sec, loop
Varsha Nair, Mapping Memory, 2016
collaborative drawing on bai larn (palm-leaf), pencil, ink, egg tempera, 72 x 7 cm each, 21 pcs.,
text on paper, 21  x 29.5 cm each, 15 pcs.
365 days: LIFE MUSE archive Tables in the exhibition
jiandyin, On Adaptation The Lost Capital, 2020
video full HD, 42”LCD TV, 7.18 min., colour, sound, loop

Text by Cathleen Siming PanThis principle of veracity is at the heart of the emancipation experience.——Jacques Rancière, The Ignorant Schoolmaster

“Nanyang”(1) has been the Chinese name of Southeast Asia since Ming and Qing dynasty. The migration trend of “Xia Nanyang” (translator’s note: going down the Southern China seas) by people mostly from Guangdong and Fujian in modern history evokes our closest memory of this region, projecting an imaginary map of friendship, family history and political unity(2). Since the World War II, Southeast Asia(3) has been formally established as the name covering the Indochina peninsula and the Asian portion of the Malay Archipelago. However, the discourse on decolonizationin recent years once again brought up Nusantara, a Javanese notion dated back to the 13th century, in an effort for self-identification. A series of narratives generated by this renewed title and the perception by the subjects compel us to rethink the inter-regional relationship and our inceptive attitude.

Participation is about creating connection actively, whereas the relationship is not built on a unilateral initiation. Rendezvous suggests a sincere participation that encourages both parties for equal engagement. The space hosts objects and generates experiences, making ongoing relationship building and valid participation possible. The exhibition of “Unfolding Rendezvous” attempts to navigate participatory art practices from the variedpractices of “participation”: as practitioners in South China trying tounderstand the already highly interconnected Southeast Asian network, as a method of researching and addressing social issues by artists, as an alternative exploration owing to the absence of space, and as the communal experiences built for different communities by alternative spaces.

Through extended coexistence, presence, gathering, sharing and discussion, these hybrid forms of “participations” gradually move from “assemblage” to “happening”, fabricating social imaginations and connections, expanding creative communities, opening up spaces and platforms in the imperfect art ecosystem, and upscaling the diversity of the art infrastructure. While constructing the discourse of their own practice, the artists as space organizers and event curators are also able to encounter work-centered routine conversations different from those within the art system. Both the artists’ individual creations and the communities in which they work grow and react to one another in an ongoing loop of happening.

“Unfolding Rendezvous: Relationality via Spatial Praxis” invites four artist-run alternative spaces and collectives in an attempt to present a mutually enriching state of art creation and platform build-up. They have been engaging in lengthy indigenous practices in Ratchaburi (Thailand), Quezon City (Manila), Singapore and Guangzhou through the media in which they excel respectively, and renewing the action of “participation”, from being socially “aware”, “interventional” and “engaged” to “participatory” in specific social contexts and experiences. Theses experiences of spatial praxis are scattered in the exhibition as individual rooms with different degrees of openness and distinctive characters, transferring the process of their practices for the audience who are not in sync with the art creation process, and inviting them to be part of the constellation.

1 郑观应《盛世危言·海防上》:“昔泰⻄各强敌,越国鄙远而来。今而南洋各岛,悉为占据。则边鄙已同接壤,郊坰无异户庭也。”.2 Françoise Vergés, Writing on Water:Peripheries, Flows, Capital,and Struggles in the Indian Ocean, East 2Cultures Critique, Volume 11, Number 1, Spring 2003,241-257, published by Duke University Press3 https://asean.org/…

  • Host: Guangzhou Academy of Fine Arts
  • Organizers: Art Museum of Guangzhou Academy of Fine Arts / Research Center for New Art Museum Studies, Guangzhou Academy of Fine Arts
  • Honorary General Counsel: Li Jinkun
  • General Counsel: Apinan Persianada, Guo Jianchao, Hou Hanru
  • Academic advisors: Deng Qiyao, Yang Xiaoyan
  • Project Director: Wang Huangsheng, Hu Bin, Chen Xiaoyang
  • Planning and launching: Pan Siming, Lu Sipei
  • Space design and support: Guo Zhenjiang, Chen Xujie, Ji Yinan, Wang Chao
  • Visual design: Cai Yunqi
  • Project execution: Luo Yubin, Li Tiejun, He Quan, Huang Xingbiao, Zeng Weifeng
  • Communication and Education: Wang Xiuyuan, Liu Ziyuan, Yu Shuang, Yang Liu
  • Special support for project production: Xu Ran
  • Research collaboration: Ye Shaobin (Sau Bin Yap), Chen Yanxin
  • Production cooperation: Wen Shiwen, Tan Yuqi, Huang Xiaoxing, Chen Yanxin, Lin Caiyi, Guo Baoyu, Wen Chejun, A Le

Photos courtesy of Guangzhou Academy of Fine Arts
More info: https://mp.weixin.qq.com/s/68XmuBEHpHp_rKEV-nnAlg
365 days: LIFE MUSE project, since 2015
Info: https://www.baannoorg.org/dayofflab/365-days-life-muse

Parallel // ขนาน: จักรวาล คณิตศาสตร์ สังคมการเมืองและศิลปะ

baannoorg publication

บทความเรียบเรียงโดย ผิว มีมาลัย (จิระเดช มีมาลัย)

  • Parallel // ขนาน คือหัวข้อที่กล่าวถึงในครั้งนี้ แต่ก่อนที่เราจะไปถึงรายละเอียดต่างๆในหัวข้อนั้น เรามาทำความเข้าใจร่วมกันว่า บทความต่อไปนี้ตั้งอยู่บนแนวคิดการทดลอง การแสวงหาความรู้และการสร้างกระบวน การเรียนรู้ข้ามศาสตร์สำหรับนักศึกษาทัศนศิลป์ และในวงเล็บสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจพื้นที่คู่ขนานในสังคมร่วมสมัยอีกด้วย

โดยอาศัยวิธีวิทยาและแนวทางศึกษาจากผลงานของมิเซล ฟูโกต์ อันได้แก่ โบราณคดีแห่งความรู้ (The Archeology of Knowledge) และ วงศาวิทยา (Genealogy) เพื่อรื้อสร้าง เปิดโปง ลำดับชั้นทางความคิดที่ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และเผยให้เห็นกระบวนทัศน์เบื้องหลังการสถาปนาความจริง กรอบความคิดในลักษณะนี้ ต้องการอธิบายประวัติศาสตร์ของความคิด ความรู้ ว่าไม่ใช่การค้นพบความจริงเกี่ยวกับความรู้นั้นๆ หากเป็นเพียงการสะสมและการแตกหน่อ เป็นการแตกแขนงของชุดความรู้ที่ส่งต่อๆกันไปเหมือนการสืบสายทายาทวงศ์วาน ชุดความรู้หนึ่งจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นฐานให้ชุดความรู้อีกชุดหนึ่งปรากฏเสมอ ความรู้จึงมิได้มีอยู่ด้วยตัวมันเองมันต้องอาศัยความรู้เดิมเป็นเชื้อเป็นหน่อให้มันเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์


ความรู้จึงเป็นประวัติศาสตร์ที่ปรากฏขึ้นและส่งต่อด้วยหลากหลายวิธี ฟูโกต์ชี้ว่าการทำความเข้าใจแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้เรามองประวัติศาสตร์แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้นประวัติศาสตร์ของ ฟูโกต์จึงมิใช้หลักฐานของการมีอยู่ของความจริงซึ่งเป็นผลผลิตของยุคเหตุผล หรือยุคแห่งการรู้แจ้งทางปัญญา(Enlightenment) ที่อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสร้างทฤษฏีของความจริง ดังนั้นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จึงเป็นการวิเคราะห์อำนาจของวิทยาศาสตร์ที่บ่งการความจริงเท่านั้น และไม่มีความจริงใดๆ ที่ซ้อนอยู่ภายใต้ความรู้เนื่องจากความจริงเป็นเพียงผลผลิตของอำนาจที่ใช้สถาปนาความรู้ก็เท่านั้น และเป็นอำนาจที่พยายามทำให้เราเชื่อว่ามันเป็นธรรมชาติอันแท้ทรู

Parallel // ขนาน

ความหมายตามราชบัณฑิตยสถาน ขนาน ๑[ขะหฺนาน] น. หมู่ ลักษณะนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน.[ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนานกัน หรือเรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟาก ว่า เรือขนาน แพขนาน-ยนต์เรียก การตั้งชื่อ เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. เช่นอิเหนาเมาหมัด น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอด ว่า เส้นขนาน หรือเรียก ขฺนาน ว่า เทียบ

เมื่อพิจารณาคำว่า ขนาน ในเชิงภาษาจะพบว่า ขนาน บ่งชี้ถึงจำนวนที่มากกว่า 1 เสมอ ในคำคุณศัพท์ (adj) คำนาม (n.) และ กริยาที่ต้องการกรรม (Transitive Verbs) ขนานให้ความหมายว่า เท่าเทียมกัน เสมอกัน และการเปรียบเทียบ

  • parallel (adj.คุณศัพท์) ขนาน,เสมอ,เท่าเทียมกัน
  • parallel (n.นาม) เส้นขนาน,การเปรียบเทียบ
  • parallel (VT.กริยาต้องการกรรม) เสมอกัน,เปรียบเทียบ

คำว่า Parallel // ขนาน ถูกใช้อธิบายความรู้อย่างกว้างขวางในหลายสาขาวิชา นอกจากเพื่อขนานตัวมันเองแล้ว มันยังทำหน้าที่อธิบายจักรภพอีกเสียด้วย เช่น คำว่า parallel universe (จักรวาลขนาน) parallel universe นั้นถูกเรียกอีกอย่างว่า parallel dimension (มิติขนาน)


ในกรณีนี้ไม่ว่า dimension หรือ universe นั้นมีสิ่งขนานอยู่ไม่ว่าเราจะรับรู้มิติอื่นนอกเหนือการรับรู้ของมนุษย์หรือไม่ก็ตาม parallel universe (จักรวาลขนาน) ปรากฏในแนวคิดพุทธปรัชญาในมโนทัศน์เรื่องจักรวาลวิทยาจากคัมภีร์สุตตันตปิฎก มีการระบุถึงโลกธาตุอื่นๆ ว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากในหมื่นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าจะทรงเกิดขึ้นในประเทศส่วนกลางแห่งชมพู-ทวีป ในจักรวาลนี้เท่านั้น (มหาโควินทสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ – 84000 พระธรรมขันธ์) คำกล่าวที่ว่า “มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้น” ได้ก้าวข้ามตอบคำถามที่ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ไปเรียบร้อยแล้ว

ภาพจักรวาลวิทยา ที่วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

ปัจจุบันมีผู้ที่ให้ความสนใจศึกษา parallel universe (จักรวาลขนาน) อย่างจริงจังท่านหนึ่งคือ Brian Greene (b.1963-) ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ทฤษฏี (theoretical physicist) นักคณิตศาสตร์(mathematician)และ นักทฤษฎีสตริง(string theorist) แห่งมหาวิยาลัย Columbia University, New York


Greene ขนานลักษณะการซ้อมทับของโลกธาตุที่คลอบคุมทั้งหมดของ พื้นที่ เวลา สะสาร พลังงาน ข้อมูล(information) กฎฟิสิกส์และค่าคงที่รวมกันว่า multiverse (เป็นการสมาสคำ 2 คำคือ Multi (uni)verse) ซึ่งอธิบายความมีอยู่ของโลกธาตุอื่นๆ ด้วยฟิสิกส์ทฤษฏีการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

The Hidden Reality: Parallel Universes and the Deep Laws of the Cosmos

เมื่อพูดถึงนักฟิสิกส์ทฤษฏี โดยมากหลายๆคนรู้จักพวกเขาพอสมควร คือเมื่อเอ่ยชื่อขึ้นมาทุกคนต้องร้องอ๋อ… ตัวอย่าง 3 ท่าน เช่น Galileo Galilei (b.1564 – 1642) ใครชอบกินแอปเปิ้ลน่าจะรู้จักคนนี้ Isaac Newton (b.1643- 1727) และคนนี้สุดติ่งทุกคนรู้จักดีในภาพชายสูงวัยผมเผ้ากระเซิงและผูกเชือกรองเท้าไม่เป็น Albert Einstein (b.1879- 1955) ซึ่งลักษณะเช่นนี้พวกนักศึกษาศิลปะเรียกว่า “เซอร์

เราลองมาดูกันว่าทำไมนักฟิสิกส์ทฤษฏีจึงโหยหา Imagination กับคำกล่าวที่ว่า“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” วลีทองของ Einstein ได้ถูกบิดเบือนตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะกับระบบการศึกษาด้านทัศน์ศิลป์ในประเทศไทย


ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ของการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยบางแห่ง ผู้เขียนเคยประสบกับตัวเองที่นักศึกษาพูดขึ้นว่า”โถ…จารย์ไม่เห็นต้องอ่านเลยหนังสือ…จินตนาการสำคัญกว่าความรู้นะจารย์” ต้องเข้าใจว่านักฟิสิกส์ทฤษฏีทุกคนเป็นนักคณิตศาสตร์


Galileo (b. 1564- 1642) กล่าวไว้ว่า “พระเจ้าเป็นนักคณิตศาสตร์” ดังนั้นมนุษย์จะเข้าใจธรรมชาติที่พระเจ้าสร้างได้ก็โดยใช้คณิตศาสตร์เท่านั้น เนื่องจากคณิตศาสตร์ใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนและแบบจำลองที่ชัดเจนสัมบูรณ์(Absolute) โดยไม่จำเป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก นักคณิตศาสตร์หลายคนจึงทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น G. H. Hardy (b.1877- 1947) แห่งวิทยาลัย Trinity มหาวิทยาลัย Cambridge มองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะมากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้


แรงผลักดันในการทำงานของนักคณิตศาสตร์มีลักษณะไม่ต่างไปจาก ศิลปิน กวีและนักปรัชญา แน่นอนว่าศิลปินย่อมขาดซึ่งจินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานมิได้ ฟิสิกส์ทฤษฏีก็เช่นกันแม้พวกเขาจะมีความรู้ที่จะสามารถเข้าใจพระเจ้าได้ มันจะดูย้อนแย้งไปไหมหากให้เรามาลองจินตนาการดูว่า พวกนักฟิสิกส์ทฤษฏีปราศจากจินตนาการเสียแล้ว พวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีหน้าตาเป็นอย่างไร หนังสือ A Mathematician’s Apology ของ Hardy แสดงให้เห็นถึงสุนทรีนยะภาพซึ่งคณิตศาสตร์ คือ ราชินีแห่งวิทยาศาสตร์และทฤษฏีจำนวน(Number theory) คือ ราชินีแห่งคณิตศาสตร์


หากใครอยากรู้จัก Hardy ให้ลองหาภาพยนตร์เรื่อง The Man Who Knew Infinity เรื่องราวของ Ramanujan (b. 1887-1920) หนุ่มชาวอินเดีย ผู้ไม่มีดีกรีการศึกษา ไม่มีฐานะร่ำรวย แต่เป็นผู้ชื่นชอบคณิตศาสตร์ ในช่วงปีค.ศ. 1914–18 ขณะทำงานวิจัยตีโจทษ์เกี่ยวกับทฤษฏีจำนวน และอนุกรมอนันต์(infinity) ที่มหาวิทยาลัย Cambridge มาดู

Ramanujan: Twelve Lectures on Subjects Suggested by his Life and Work ตีพิมพ์ในปี1940

ตอนนี้เรามาดู Parallel // ขนาน ในมิติทางสังคมการเมืองและวัฒนธรรม ผ่านแนวคิดของ อันโตนิโอ กรัมชี่ (Antonio Gramsci, b.1891- 1937) มาร์กซิสสายวัฒนธรรมกัน (Cultural Marxism) จะพบว่าในผลงานของ กรัมชี่ ปรากฏการใช้คำที่ให้ความหมายในลักษณะเดียวกับ Parallel // ขนาน ด้วยเช่นกัน

โดยกรัมชี่เลือกใช้คำว่า pairs หรือคู่ แทนคำว่าขนานเพื่อบ่งชี้ถึงจำนวนที่มากกว่า 1 เสมอ เช่นเดียวกัน หากพิจารณาเชิงคุณศัพท์ pairs หรือคู่ที่ กรัมชี่ ใช้แสดงให้เห็นว่า pairs หรือคู่นั้นมีคุณลักษณ์เท่าเทียมกันเสมอกัน


กรัมชี่ มักใช้คำนี้เพื่ออธิบายความสัมพันธ์เชื่อมกันตลอดเวลาระหว่างภาครัฐและประชาสังคม ตัวอย่างคำที่ใช้เป็น pairs หรือคู่ เช่น force-consent (การบังคับ-ยินยอมพร้อมใจ) authority-hegemony (อำนาจ-การครองอำนาจนำ) political society-civil society (สังคมการเมือง-การเมืองประชาสังคม) และอื่นๆ

กรัมชี่ เห็นว่าการปฏิวัติทางสังคมจะสำเร็จได้ต้องอาศัยแนวร่วมทางอุดมการณ์ที่ก่อตัวมาอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ นี้แหละ การเลือกใช้คำในงานเขียนของ กรัมชี่มีความน่าสนใจและเผยให้เห็นด้วยว่า แทบไม่มีมาร์กซิสคนใดก่อนหน้ากรัมชี่ ให้ความสนใจศึกษามิติที่เชื่อมโยงกันอยู่ระหว่างการเมืองและวัฒนธรรมเลย


ประวัติศาสตร์ขนาน ในงาน กรัมชี่ศึกษา (Gramsci study) กับขบวนการนักศึกษาในอดีตมันก็ Parallel // ขนาน และเชื่อมโยงอยู่กับปัจจุบัน มีบันทึกว่าผลงาน กรัมชี่ศึกษา เข้ามาสู่สังคมไทยครั้งแรกในนิตยสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปี 2516 ด้วยบทความเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของ Gramsci เขียนโดย สุรพงษ์ ชัยนาม


จากนั้นขนวนการเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา ที่มุ่งมั่นเดินทางลงพื้นที่ให้แสงสว่างกับคนชนบท และสนับสนุนให้เกิดการเรียกร้องกดดันให้รัฐแก้ความไม่ยุติธรรมทางกฎหมายและปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมมาอย่างยาวนานหลังการรัฐประหาร (ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2516-2519) มีการรวมตัวกันประท้วงและเดินขบวนของกลุ่มคนชนบทและนักศึกษา


จนมาถึงฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การล้อมปราบ และเข่นฆ่านักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คือข่าวแพร่สะพัดหรือสมัยนี้อาจเรียกว่า IO ว่า “มีคนใจร้ายจะเผาวัดบวรฯ” ขณะเดียวกับกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายขวาที่จัดตั้งแล้วเสร็จ เช่น กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนักเรียนช่าง และอื่นๆ รวมกันบุกเข้าต่อต้านขบวนการนักศึกษาจนเกิดการเผชิญหน้าทำร้ายนักศึกษาจนถึงขั้นเสียชีวิต และเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งหลังจากที่นักศึกษาเข้าป่าการศึกษาพัฒนาทฤษฏีของ กรัมชี่ ได้ซบเซาตามไปด้วย


เหล่าปัญญาชนหัวก้าวหน้าไม่ได้ผลิตงานวิชาการที่ใช้แนวคิด/กรอบการศึกษาของ กรัมชี่ อย่างจริงจัง โดยส่วนมากจะให้สนใจมาร์กซิสในทฤษฎีของลัทธิเหมาและสตาลินมากกว่า เมื่อสมัยก่อนสัก 30 ปีที่แล้วการต้องอ่านมาร์กซิสทฤษฎีของลัทธิเหมาและสตาลิน ดูจะเป็นเรื่องน่าเบื่ออยู่พอสมควรหรือบ้างอาจรู้สึกเป็นเรื่องไกลตัว


การที่กรัมชี่เชื่อมโยงการเมืองและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน อธิบายให้เรามีความเข้าใจการเมืองได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมันถูกผลิตขึ้นซ้ำๆในชีวิตประจำวันของเราทุกคน

ในช่วง สองทศวรรษที่ผ่านมานี้ มีผลงานวิชาการไทยที่ใช้แนวคิด/กรอบการศึกษาของ กรัมชี่ มาประยุกต์ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองและวัฒนธรรม มากมายหลายชิ้นและน่าสนใจ เช่น ปีพ.ศ. 2541 ธเนศ วงศ์ยานนาวา เสนอบทความวิชาการเกี่ยวกับ กรัมชี่ โดยการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิยมของกรัมชี่ในแบบที่มนุษย์อย่างเราๆทุกคนเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ด้วยตนเองได้

ในปีพ.ศ. 2547 ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ เสนอผลงานวิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำ” เพื่ออธิบายการพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำของชนชั้นนำไทย


ในปีพ.ศ. 2548 ประจักษ์ ก้องกีรติ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา โดยใช้แนวคิดการพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำ เป็นหลักในการอธิบายการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น

Art/Life: One-year performance, 1983-1984

ส่วน Parallel // ขนาน ในผลงานทางทัศน์ศิลป์ที่น่าสนใจและหยิบยกขึ้นมาชิ้นหนึ่งคือผลงานที่ชื่อ Art/Life: One year performance, 1983-1984 ศิลปินผู้สร้างผลงานคือ Tehching Hsieh (b. 1950-) ศิลปินแสดงสดชาวไต้หวันที่เข้าเมืองและพำนักสร้างผลงานที่นิวยอร์กโดยผิดกฏหมาย ทำงานศิลปะความร่วมมือกับศิลปินหญิงคือ Linda Montano โดยวิธีการเปิดรับสมัคร


ก่อนที่จะไปดูรายละเอียดในผลงานชิ้นนี้ เราลองมาทำความเข้าใจบริบทแวดล้อมของ Tehching Hsieh ในฐานะปรมจารย์ (master) ตัวจริงตามความหมายที่ Marina Abramovic ศิลปินแสดงสดผู้มีชื่อเสียงในแวดวงศิลปะแสดงสดให้การยอมรับโดยดุษฏี Hsieh คือศิลปินผู้ที่กำหนดให้เส้นขนานระหว่างชีวิตและศิลปะมาบรรจบกัน ด้วยวิถีแนวทางและชีวิตประจำวันอย่างเราๆท่านๆ


Hsieh สร้างสรรค์ชุดผลงานอย่างต่อเนื่องปีต่อปีตั้งแต่งค.ศ. 1978-1999 ติดต่อกันเป็นการแสดงที่เล่นกับระยะเวลาอันยาวนาน (durational performance) และศิลปะที่แลกมาด้วยความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด (endurance art) ผลงานศิลปะแสดงสดของ Hsieh นั้นประกอบสร้างขึ้นจากองค์ประกอบอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความมีวินัย การหมกมุ่น-ย้ำคิดย้ำทำ ดันทุรัง และความขบถทั้งในโลกศิลปะ โลกที่มีมนุษย์ผู้อื่นอาศัยอยู่และโลกจริงที่มีกฎหมายตีกรอบหวงห้ามเอาไว้ ผลงานการแสดงสดของเขาใช้ระยะเวลาในการแสดง 365 วันเต็มตลอดวันตลอดคืนแบบไม่มีการหยุดพัก และเขาได้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องเพียง 6 ชุดเท่านั้น ได้แก่

  • 1. One year performance 1978-79 (Cage Piece) การกักขัง 365 วัน
  • 2. One year performance 1980-81 (Time Clock Piece) การตอกบัตร 24 ชั่วโมง 365 วัน
  • 3. One year performance 1981-82 (Out Door Piece) การจรจัด 365 วัน
  • 4. Art/Life One year performance 1983-84 (Rope Piece) การตรึงและขนานกันไว้ 365 วัน
  • 5. One year performance 1985-86 (No Art Piece) การไม่ทำศิลป์ ไม่คุยศิลป์ ไม่ดูศิลป์ ไม่อ่านศิลป์ ไม่ไปงานแสดงศิลป์ 365 วัน
  • 6. Tehching Hsieh 1986-1999 ผลงานระยะยาว การกระทำศิลปะแต่ไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นเวลา 13 ปี

Art/Life One year performance 1983-84 (Rope Piece)

ในผลงานชุดเชือก(Rope Piece) Tehching Hsieh และ Linda Montano ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนจนเมื่อทั้งสองลงนามในเอกสารความเห็นชอบโครงการร่วมกัน จากนั้นชายหญิงคู่หนึ่งได้อาศัยชีวิตประจำวันและพื้นที่เกาะแมนแฮตตัน (Manhattan) มหานครนิวยอร์กเป็นแบบจำลองเชิงปฏิบัติการใช้ชีวิตร่วมกัน 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน


โดยมีเชือกความยาว 2.40 เมตร ผูกเอวทั้งสองไว้พร้อมข้อห้ามถูกเนื้อต้องตัว แน่นอนว่าผลงานชิ้นนี้ลุล่วงไปได้แม้ต้องพบอุปสรรคจากความแตกต่างระหว่างปัจเจก Hsieh ยอมรับว่าในฐานะผลงานศิลปะ Rope Piece ประสบความสำเร็จและได้รับความชื่นชมยินดีอย่างมาก แต่มันกลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในฐานะมนุษย์และความร่วมมือซึ่งมีความแตกต่างอย่างสุดขั้ว


Parallel // ขนาน ในผลงาน Art/Life One year performance 1983-84 (Rope Piece) เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ผลงานชิ้นนี้สมาสพื้นที่ทางศิลปะและพื้นที่ชีวิตของเส้นขนานให้มาบรรจบกันที่ Vanishing Point


แม้ในความรู้สึกของเขาทั้งสองจะบอบช้ำเพียงใด หากเรามองในเชิงเทคนิคการบำเพ็ญเพียรหรือตบะอย่างเข้มข้นและวินัยแบบสุดติ่งบนข้อตกลงทางศิลปะร่วมกัน คือเครื่องมือและกระบวนการในการผลิตและสร้างสรรค์ผลงาน และชีวิตประจำวันก็คือวัสดุที่ศิลปินนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนั้นเอง


การขุดคุ้ยและสืบค้นประวัติศาสตร์ของความรู้เช่นนี้ได้เผยให้เห็นภาพของ Parallel // ขนาน ในหลากหลายมิติไม่มากก็น้อย จะเห็นได้ว่ากิจกรรมทางปัญญาของมนุษย์หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ทำให้เส้นหรือแม้แต่สิ่งที่ Parallel // ขนาน กันมาบรรจบกันได้

เอกสารอ้างอิง

(1) A Physicist Explains Why Parallel Universes May Exist https://www.npr.org/2011/01/24/132932268/a-physicist-explains-why-parallel-universes-may-exist
 (2) การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดเรื่อง จักรวาลวิทยาในพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก, เพ็ญแข กิตติศักดิ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย 2529
 http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21509
 (3) ทำไมต้องฟิสิกส์ทฤษฏี สิขรินทร์ อยู่คง (Sikarin Yoo-Kong) 24 March 2016
 https://medium.com/@sikarinyookong/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B8%B5-why-theoretical-physics-1707196a12db
 (4)อันโตนิโอ กรัมชี่ : มาร์กซิสเชิงวัฒนธรรมกับการศึกษาโครงสร้างส่วนบน
 บทความวิชาการTagged การศึกษาโครงสร้างส่วนบน, มาร์กซิสเชิงวัฒนธรรม ผู้เขียน วรวิทย์ ไชยทอง, อันโตนิโอ กรัมชี่ 28 พฤศจิกายน 2013
 https://armworawit.wordpress.com/2013/11/28/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81/
 (5)กรัมชีกับการเมืองไทย: อำนาจเก่ากำลังจะตาย อำนาจใหม่ยังไม่สถาปนา
 ประชาไท / ข่าว
 https://prachatai.com/journal/2014/06/54315
 (6)บทบาทและความสำคัญของคณิตศาสตร์ในวิทยาศาสตร์
 2 ธันวาคม 2554 ผู้เขียน สุทัศน์ ยกส้าน
 https://mgronline.com/science/detail/9540000149053
 (7)รามานุจัน’ อัจฉริยะเบื้องหลัง ‘อินฟินิตี้ มติชนรายวัน ผู้เขียน วจนา วรรลยางกูร, 17 พฤษภาคม 2559
 https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_139390
 (8)NYC-Based Artist Tehching Hsieh: When Life Becomes A Performance
 https://theculturetrip.com/north-america/usa/new-york/new-york-city/articles/tehching-hsieh-when-life-becomes-a-performance/
 (9)Tehching Hsieh
 https://www.tehchinghsieh.com/artlife-oneyearperformance1983-1984
 (10)ศิลปะบำเพ็ญทุกข์ขั้นสุดของ Tehching Hsieh ศิลปินไต้หวัน ผู้เป็นมาสเตอร์ของ Abramović
 4 January 2018 Wassachol Sirichanthanun, LIFEMATTERS
 https://thematter.co/life/tehching-hsieh-people-you-should-know/42892