On occasion of The First Pan-Southeast Asia Triennial Serial Research Exhibition Project #3: Two responses to “participatory art”
The first Trans-Southeast Asia Triennial research exhibition series PROJECT #3 :Does it matter that we’ve just met, if our hearts understand: Two responses to social practice
November 21, 2021-January 9, 2022 Exhibition Hall 5 and Hall 6, Art Museum of Guangzhou Academy of Fine Arts, University Town, Panyu District
Unfolding Rendezvous: Relationality via Spatial Praxis
Curated by Cathleen Siming Pan
Participating Spaces/Collectives and Themes :
Baan Noorg Collaborative Arts and Culture: Baan Noorg is future is now: 365 days: LIFE MUSE (Thailand)
Los Otros: My Home is the Other (The Philippines)
The Observatory: Everything is vibration (Singapore)
Ergao Dance: Southern Dance House (China)
Participating artists and organizations: Baan Noorg Collaborative Arts & Culture , Jiandyin ( Jiradej and Pornpilai Meemalai), Rachan Klomklieng, Chaw Su and Kyaw Moe, Ma Ei, Suraporn Lertwongpaitoon, Varsha Nair, Okui Lala.
Los Otros , Shireen Seno , John Torres ,Melchor Bacani III, Raya MartinRaya Martin,Uncles and Aunts( Tito & Tita ), Jon Lazam , Jangwook Lee.
Observatory, Yeo Siew Hua , Haino Keiji , NUS Guitar Ensemble & NUS Talents , Playfreely Festival , Eric Lee , voice of Bangladesh – day ashram Banglar Kantha-Dibashram , Dan is the ( Than Naing ), Bilal Hussein , Ethan band ( Isan band ), even high-Malay ( Malay Ghosh ), Ujikaji , BlackKajiXtra x Nusasonic ( BlackKajiXtra x Nusasonic ), Second High Performance ( He Qiwo , Zhang Dianling , Liu Qingyu ), Zhang Lu
Text by Cathleen Siming PanThis principle of veracity is at the heart of the emancipation experience.——Jacques Rancière, The Ignorant Schoolmaster
“Nanyang”(1) has been the Chinese name of Southeast Asia since Ming and Qing dynasty. The migration trend of “Xia Nanyang” (translator’s note: going down the Southern China seas) by people mostly from Guangdong and Fujian in modern history evokes our closest memory of this region, projecting an imaginary map of friendship, family history and political unity(2). Since the World War II, Southeast Asia(3) has been formally established as the name covering the Indochina peninsula and the Asian portion of the Malay Archipelago. However, the discourse on decolonizationin recent years once again brought up Nusantara, a Javanese notion dated back to the 13th century, in an effort for self-identification. A series of narratives generated by this renewed title and the perception by the subjects compel us to rethink the inter-regional relationship and our inceptive attitude.
Participation is about creating connection actively, whereas the relationship is not built on a unilateral initiation. Rendezvous suggests a sincere participation that encourages both parties for equal engagement. The space hosts objects and generates experiences, making ongoing relationship building and valid participation possible. The exhibition of “Unfolding Rendezvous” attempts to navigate participatory art practices from the variedpractices of “participation”: as practitioners in South China trying tounderstand the already highly interconnected Southeast Asian network, as a method of researching and addressing social issues by artists, as an alternative exploration owing to the absence of space, and as the communal experiences built for different communities by alternative spaces.
Through extended coexistence, presence, gathering, sharing and discussion, these hybrid forms of “participations” gradually move from “assemblage” to “happening”, fabricating social imaginations and connections, expanding creative communities, opening up spaces and platforms in the imperfect art ecosystem, and upscaling the diversity of the art infrastructure. While constructing the discourse of their own practice, the artists as space organizers and event curators are also able to encounter work-centered routine conversations different from those within the art system. Both the artists’ individual creations and the communities in which they work grow and react to one another in an ongoing loop of happening.
“Unfolding Rendezvous: Relationality via Spatial Praxis” invites four artist-run alternative spaces and collectives in an attempt to present a mutually enriching state of art creation and platform build-up. They have been engaging in lengthy indigenous practices in Ratchaburi (Thailand), Quezon City (Manila), Singapore and Guangzhou through the media in which they excel respectively, and renewing the action of “participation”, from being socially “aware”, “interventional” and “engaged” to “participatory” in specific social contexts and experiences. Theses experiences of spatial praxis are scattered in the exhibition as individual rooms with different degrees of openness and distinctive characters, transferring the process of their practices for the audience who are not in sync with the art creation process, and inviting them to be part of the constellation.
1 郑观应《盛世危言·海防上》:“昔泰⻄各强敌,越国鄙远而来。今而南洋各岛,悉为占据。则边鄙已同接壤,郊坰无异户庭也。”.2 Françoise Vergés, Writing on Water:Peripheries, Flows, Capital,and Struggles in the Indian Ocean, East 2Cultures Critique, Volume 11, Number 1, Spring 2003,241-257, published by Duke University Press3 https://asean.org/…
Host: Guangzhou Academy of Fine Arts
Organizers: Art Museum of Guangzhou Academy of Fine Arts / Research Center for New Art Museum Studies, Guangzhou Academy of Fine Arts
Honorary General Counsel: Li Jinkun
General Counsel: Apinan Persianada, Guo Jianchao, Hou Hanru
Academic advisors: Deng Qiyao, Yang Xiaoyan
Project Director: Wang Huangsheng, Hu Bin, Chen Xiaoyang
Planning and launching: Pan Siming, Lu Sipei
Space design and support: Guo Zhenjiang, Chen Xujie, Ji Yinan, Wang Chao
Visual design: Cai Yunqi
Project execution: Luo Yubin, Li Tiejun, He Quan, Huang Xingbiao, Zeng Weifeng
Communication and Education: Wang Xiuyuan, Liu Ziyuan, Yu Shuang, Yang Liu
Special support for project production: Xu Ran
Research collaboration: Ye Shaobin (Sau Bin Yap), Chen Yanxin
Production cooperation: Wen Shiwen, Tan Yuqi, Huang Xiaoxing, Chen Yanxin, Lin Caiyi, Guo Baoyu, Wen Chejun, A Le
นิทรรศการ Asian Art Biennial 2019 จัดแสดงขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสถานแห่งชาติไต้หว้น (National Taiwan Museum of Fine Arts) เมืองTaichung Taiwan เพิ่มเสร็จสิ้นไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาในเดือนกุมภาพันธ์ ขณะเดียวกันกับที่โรค ระบาดสายพันธ์ใหม่ Coronavirus เริ่มขยายตัวและแพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชีย
ใน Asian Art Biennial ประจำปี 2019 กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะสถานแห่งชาติไต้หวัน ได้เลือดสรรภัณฑารักษ์ร่วม 2 ท่าน ได้แก่ Hsu Chia-Wei จากไต้หวัน และ Ho Tzu-Nyen จากสิงคโปร์ ด้วยเหตุที่ทั้ง 2 ท่านเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ความน่าสนใจประการแรกเกิดขึ้นเมื่อกระทรวงวัฒนธรรมฯ ประกาศ นามภัณฑารักษ์ประจำปี 2019 โดยระบุในเอกสารว่า “ศิลปิน-ภัณฑารักษ์”
หมายความว่าภัณฑารักษ์ในนิทรรศการครั้งนี้เป็นศิลปิน คำถามต่อมาว่าทำไม Asian Art Biennial 2019 จึงไม่เชิญภัณฑารักษ์ที่มีพื้นที่ฐานด้านงานบริหารจัดการศิลปะ เพื่อมาออกแบบสร้างชุดความรู้ในประเด็นต่างๆ และการที่ ศิลปินทำหน้าที่ภัณฑารักษ์นั้นสร้างความแตกต่างอย่างไรในแนวทางและวิธีบริหารจัดการร่วมกับศิลปิน ที่ภัณฑารักษ์เชิญให้เข้าร่วมในงานนิทรรศการครั้งนี้
จากมุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า(ศิลปิน)ภัณฑารักษ์ ทั้ง 2 ท่าน แบ่งหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการ โครงการฯได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อดูจากผลงานศิลปะที่จัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ก็พบว่า ศิลปินและผลงานที่ได้ คัดเลือกเข้าร่วมนิทรรศการฯ ส่วนใหญ่ เป็นศิลปินที่สร้างผลงานในลักษณะโครงการวิจัยทางทัศนศิลป์ (artistic research based project) อาทิเช่น Antariksa, Yuchiro Tamura, Ho Rui An, Timur Si-Qin, Ise Roslisham Ismail ฯลฯ
เมื่อย้อยกลับไปดู time line ผลงานที่สร้างชื่อเสียงแก่(ศิลปิน)ภัณฑารักษ์ ทั้ง 2 ท่านนั้น พบว่าตัวอย่างผลงานชุด series projects: Tigers ของ Ho Tzu-Nyen และผลงาน Huai Mo Village 2012-2017 , Marshal Tie Jia –Turtle Island 2514-2015 ของ Hsu Chia-Wei ล้วนแต่เป็นโครงการระยะยาวที่มีความสลับซับซ้อน ด้านสหวิยาการศิลป์เชิงงานวิจัย(interdisciplinary arts research base project) และมีชั้นเชิงทางสุนทรียภาพสูงมากทีเดียว
แนวคิดภัณฑารักษ์ใน 2019 Asian Biennial ในชื่อ The Strangers from Beyond the Mountain and the Sea ครั้งนี้ มุ่งความสนใจไม่เฉพาะการตั้งประเด็นคำถามหรือ กระบวนการในการหาคำตอบ ด้วยหลักคิดสัมพัทธ์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ของพื้นที่หรือสถานที่ในการจัดนิทรรศการนั้นคือ เกาะไต้หวันซึ่งตั้งอยู่บนภูมิศาสตร์ที่ยึดโยงกับภูมิภาคทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
ภัณฑารักษ์อ้างอิงผลงานวิจัยที่มีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล่มหนึ่งชื่อ The Art of Not Being Governed เขียนโดย James C. Scott และหนังสือ We Have Never Been Modern เขียนโดย Bruno Latour จุดอ้างอิงที่เชื่อมต่อกันกลายเป็นประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการ และความเป็นไปในภูมิภาคฯ มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ด้วยลักษณะของชั้นตะกอนทางประวัติศาสตร์ทับถมและซ้อนทับนับตั้งแต่อภิมหาบรมยุค (Supereon) ถึงปัจจุบัน
เอกสารของ James C. Scott ระบุว่าพื้นที่ Zomia เป็นพื้นที่ไร้รัฐ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มานานนับพันปี เป็นพื้นที่บนภูเขาสูงซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 80 ล้านคน เป็นพื้นที่ที่คนจากพื้นราบใช้หลีกหนีการควบคุมจากอำนาจรัฐ ซึ่งไต่ขึ้นไปไม่ถึง และเป็นที่หลบซ่อนของใครหลายคน โดยทั่วไปแล้วพวกเขามีกองกำลังติดอาวุธเป็นของตนเอง
Churning Milk: The ritual of things (2022) A collaborative and participatory art project ได้หยิบยกประเด็นทางการเมืองที่แฝงอยู่ในรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ระบุว่านอกจากรัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์แล้วพระองค์ได้ทรงให้จารึกโคลงภาพรามเกียรติ์ ติดตั้งบนฝาพนังระเบียงคดวัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2325 อีกด้วย
กลุ่มศิลปิน Baan Noorg Collaborative Arts and Culture ได้ออกแบบพื้นที่จัดแสดงในรูปแบบ Multimedia installation เพื่อเป็นพื้นที่ทางศิลปะเชิงปฏิบัติการ(Activities base art) และอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชมเป็นตัวขับเคลื่อนให้องคาพยพหรือส่วนต่างๆ ของผลงานศิลปะได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นผลวัตตลอดระยะเวลาจัดแสดง 100 วัน และเพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมกัน(Experience sharing) ระหว่างชิ้นผลงานศิลปะ กลุ่มศิลปินฯ และผู้ชม ฯลฯ
ในทัศนะของ John Dewey (b. 1859 – 1952) การทำความเข้าใจถึงแก่นสาระและลักษณะพิเศษของกระบวนการที่ผลงานศิลปะได้สำแดงออก คือหลักการขั้นพื้นฐานที่พัฒนาไปสู่ประสบการณ์และการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านการสำแดงออกของผลงานศิลปะ การผลักดันและแรงกระตุ้นจากศิลปินรวมถึงความตื่นตัวของผู้ชม ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงแบบด้นสดสนับสนุนกันไปมาระหว่าง material and mental environments, and their culture at large ในพื้นที่จัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมตั้งคำถามต่อตัวบทไปพร้อมๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์ร่วมเหล่านั้นปะติดปะต่อภาพ เพื่อการตีความหรือให้ความหมายใหม่ เป็นสิ่งที่เปิดกว้างสำหรับผู้ชมหรือผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าสหบท(intertextuality) คือตัวแปรสำคัญด้วยความคิดพื้นฐานที่ว่าการผลิตตัวบท (text) ในผลงานครั้งนี้มิได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวโดยปราศจากตัวบทที่มีมาก่อนหน้า (pre-text)
ด้วยเหตุนี้ผลงาน Churning Milk: The ritual of things ก็คือตัวบทที่ผลิตซ้ำจากตัวบทรามเกียรติ์ตอนกวนเกษียรสมุทรร่วมกับตัวบทอื่น ที่มีมาก่อนแล้วนำมาถ่ายถอดในรูปแบบของตัวบทใหม่ที่มีลักษณะเป็นพหุสัญญะ (multi-semiotic)โดยใช้สื่อที่หลากหลาย (multimedia) เพื่อเน้นย้ำถึงบริบทใหม่ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขทางสังคมการเมืองไทย ณ ปัจจุบันที่ตัวบทนี้ถูกผลิตขึ้นนั้นเอง
บทความฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะเสนอแนวคิดเชิงวิชาการ ซึ่งเผยความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมที่ตีเกลียวประหนึ่งเชือกอันทรงอิทธิพล ที่ขึงตรึงฐานรากความคิดความเชื่อและความรู้สึกของความเป็นรัฐชาติที่สถาปนาขึ้น โดยกลุ่มชนชั้นปกครองครั้งต้นรัตนโกสินทร์ และดำรงสืบต่อมาจวบจนปัจจุบัน นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมรัฐชาติสมัยใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ จึงถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน ดังนั้นหากเราต้องการถอดรหัสหรือนัยอำนาจชนชั้นปกครองไทย จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดวิธีวิทยาหลายแนวคิด อาทิ การวิเคราะห์เชิงอุปลักษณ์ (Metaphor Analysis) ตามแนวคิดของ Susan Koch and Stanley Deetz แนวคิดการตีความวรรณกรรมของ Lajos N. Egri แนวคิดจิตไร้สำนึกและการเมืองของความปรารถนา (a politics of desire) ของชีลส์ เดอเลิซ กับเฟลิกส์ กัตตารี (Gilles Deleuze & Félix Guattari) แนวคิควิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของภาษาในเชิงวิพากษ์ของ Julia Kristeva หรือแม้แต่แนวคิดการใช้อำนาจผ่านภาษาของ Norman Fairclough ร่วมกันวิเคราะห์ค้นหา เพื่อทำความเข้าใจแรงผลักที่ก่อให้เกิดการผลิตซ้ำ(centripetalpressure) และการสร้างขึ้นใหม่เฉพาะกิจ(centrifugal pressure) (จันทิมา อังคพณิชกิจ, 2554: 4) ของตัวบทรามายณะหรือรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทย
สืบเนื่องจากงานแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ documenta fifteen ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 Jun- 25 September 2022 เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นทุกๆ 5 ปี ณ เมือง Kassel ประเทศเยอรมนี กลุ่มศิลปิน Baan Noorg Collaborative arts and Culture จากราชบุรี ประเทศไทย ได้สร้างสรรค์ผลงานในชื่อโครงการ: Churning Milk: the Rituals of Things (2022) A collaborative and participatory art project โดยศึกษาทำความเข้าใจและตีความความสัมพันธ์การเชื่อมโยงของสื่อหลากหลายชนิด เช่น การนำวรรณกรรม เรื่องเล่า-นิทานพื้นบ้าน ไปสร้างเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัย การแสดงสด ภาพยนตร์ ฯลฯ เพื่อวิเคราะห์เรื่องราวชนิดเดียวกันหรือต่างกันเมื่อถูกผลิตสร้างภายในรูปแบบของสื่อที่ต่างกัน จะส่งผลให้ความหมายของสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เมื่อตัวละครในรามเกียรติ์ถูกผสานเข้ากับตัวบทอื่นในฐานะเป็นผลงานศิลปะจัดวางประเภทสื่อผสม (Multimedia installation) ขนาดพื้นที่ 14.00 x 12.00 x 1.20 m. ประกอบด้วย (Include): 85″ LCD monitors, VDO 3 channel full HD B/W and color, 13 min, sound, speakers, mixer, fluorescent light tubes, balasts, color, prepared motor, steel, inflatable air-object, spray paint, skateboard mini ramp, Nang Yai*, live piece performances*, skateboard donation drive, series of workshops and events.
กวนเกษียรสมุทร (Churning the ocean of the Milk) คือตัวบทที่กลุ่มศิลปิน Baan Noorg Collaborative arts and Culture นำเสนอ มันคือตอนที่เทพและอสุรร่วมมือกันในการที่จะได้มาซึ่งน้ำอมฤตเพื่อความเป็นอมตะเมื่อได้ดื่มกิน และเป็นตอนที่เราพอจะมองเห็นความร่วมมือกันในแนวราบ มากกว่าการสู้รบโดยทั่วไปที่ตัวบทมักวางลำดับชั้นของเทพ และอสูรไว้ในแกนแนวดิ่งหรือลำดับชั้นของจักรวาลซึ่งเทพอยู่เบื้องบนส่วนอสูรนั้นอยู่เบื้องล่างในนรก แต่แล้วฝ่ายเทพซึ่งหมายถึงพระนารายณ์ ได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมฉวยน้ำอมฤตไปเสียพ้นจากฝั่งอสูรซึ่งหมายถึงทศกัณฐ์ ความฉ้อฉลของฝ่ายเทพเป็นสิ่งที่ตัวบทมักพยายามสร้างให้เกิดความชอบธรรม และแสดงให้เห็นถึงอำนาจนำทั้งด้านการเมืองและการปกครอง
ถึงอย่างไรก็ดีมีนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์แห่ง University of West Florida อย่าง Emeritus Professor Dr. Madan Lal Goel เสนอแนวคิดใหม่ว่า การรุกรานของอารยันไม่เคยเกิดขึ้น เขาระบุว่าชาวอารยันและชนพื้นเมืองอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยมีการผสานชาติพันธ์และวัฒนธรรมกันมาโดยตลอด จากการขุดพบทางโบราณคดีที่แหล่งอารยะธรรมโบราณ หารัปปา และ โมหันโชทะโร ไม่พบพยานหลักฐานใดๆ ที่บงชี้การเข้ารุกรานของอารยัน และมีนักวิชาการหลายท่านเสนอว่า อารยันไม่ใช่ชาติพันธ์แต่เป็นวัฒนธรรม
ตัวอย่างของการโต้แย้งระหว่าง เมเยอร์ ชาพิโร (Meyer Schapiro 1904-1996) นักประวัติศาสตร์ศิลปะที่ไม่เห็นด้วยกับ มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger b.1889-1976) ในการแยกแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ออกจากประเด็นทางประวัติศาสตร์ของภาพวาด เนื่องจากบทความที่ชื่อ The Origin of the work of Art ตีพิมพ์ในปี 1950 เสนอว่าผลงานจิตรกรรม A Pair of Shoes (1886) ซึ่งวาดโดย Vincent van Gogh คือภาพรองเท้าของหญิงชาวนา
จากการศึกษาและตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของ ชาพิโร ในบทความที่ชื่อว่า The Still Life as a Personal Object – A note on Heidegger and van Gogh ตีพิมพ์ในปี 1968 ได้พยายามอธิบายถึงที่มาหรือสภาพดั่งเดิมของภาพวาด และเชื่อว่าภาษาเป็นที่มาของภาพวาดเหล่านั้น และระบุว่ารองเท้าในภาพนั้นเป็นของ van Gogh เอง
การอธิบายชนบทในฐานะเป็นหน่วยของการศึกษาวิเคราะห์ความด้อยพัฒนา จากสายตาของรัฐและปฏิบัติการของนักมานุษยาวิทยาทำให้ความหมายที่ไม่หยุดนิ่งในภาพวาดชนบท เชื่อมโยงกับบริบททางประวัติศาสตร์ของสงครามเย็นและปฏิบัติการของ CIA ในหมู่บ้านชนบทของไทยได้อย่างเนียนประณีต
เป็นที่ทราบดีว่างานศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ของ เก่งกิจ มิได้ไขปัญหาหรือข้อสงสัยเชิงสุนทรียศาสตร์ของจิตรกรรมภาพชนบท ความพยายามในการเชื่อมโยงข้อมูลและพยานหลักฐานของเขา ได้เผยให้เห็นถึงต้นกำเนิดของมานุษยวิทยาในประเทศไทยช่วงยุคสงครามเย็น ซึ่งได้รับการสนับสนุนหลายด้านจาก CIA
แนวคิดที่น่าทึ่งในสงครามเย็นใต้กรอบคิดของสำนักคอร์เนล (Cornell school of thought) คือ การทำสงครามโดยไม่จำเป็นต้องใช้กำลังทหารจำนวนมากกว่าเพื่อเอาชนะข้าศึกที่มีจำนวนน้อยกว่า และเชื่อว่านักมานุษยวิทยาเพียง 1 คนกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็สามารถเอาชนะข้าศึกจำนวนเป็นร้อยได้
เรามาทำความเข้าใจบทบาทและแนวคิดวิธีวิทยาที่เชื่อมโยงกับประเด็นที่เกร่นมาข้างต้น ผู้เขียนหยิบยกผลงานที่มีชื่อยาวเหยียด The Nanjing Particles (After Henry Ward, View of C.T. Sampson’s Shoe Manufactory, With The Chinese Shoemakers in Working Costume, CA. 1875) ศิลปินโดย Simon Starling เป็นผลงานที่น่าสนใจและสามารถอธิบายเชื่อมโยงเรื่องพื้นที่และสถานที่เชิงประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
Starling เป็นศิลปินชาวอังกฤษ เกิดในปี 1967 ที่เมือง Epsom ทางตะวันออกเฉียงตอนใต้ของกรุงลอนดอน จบการศึกษาจาก Glasgow School of Art ในปี 1992 และได้รับรางวัล Turner Prize ในปี 2005 ผลงานของเขาถูกจัดแสดงอยู่ในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ชั้นนำ อาทิ Solomon R. Guggenheim Museum, Museum of Contemporary Art Chicago, San Francisco Museum of Modern Art, Kroller Muller Museum Netherlands ฯลฯ ปัจจุบันเขาพำนักและปฏิบัติงานอยู่ที่ Copenhagen และ Berlin
ผลงาน The Nanjing Particles เป็นผลงานสื่อผสมจัดวาง(multimedia installation) ประกอบด้วยประติมากรรมโลหะสแตนเลส ขนาด 200 x 420 x 150 cm และ 200 x 450 x 170 cm จำนวน 2 ชิ้น ติดตั้งภายในห้องจัดแสดงรวมถึงภาพถ่ายขาวดำ Inkjet print ขนาด 6 x 13 m ติดตั้งบนพนังที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็นสองส่วน และภาพถ่ายขาวดำขนาดเล็กอีกหนึ่งชุดรวมกับสื่ออื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ผลงานชุดนี้เป็นงานที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อย้อนภาพประวัติศาสตร์การใช้แรงงานเชิงอุตสาหกรรมแห่งเมือง North Adams มลรัฐ Massachusetts
North Adams ในอดีตเมื่อปี คศ. 1870 เคยเป็นชุมชนที่มีประชากรชาวจีนอพยพที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดย Calvin T. Sampson ได้คิดริเริ่มนำเข้าแรงงานชาวจีนหนุ่มสาวเพื่อมาทดแทนลูกจ้างเดิมซึ่งนัดหยุดงานประท้วงโดยสหภาพแรงงาน ส่งผลให้โรงงานผลิตรองเท้า Sampson ต้องหยุดชะงัก และยังได้สร้างความหวังให้กับเจ้าของกิจการรายอื่นๆ ในมลรัฐ Massachusetts ให้หันมาใช้แรงงานชาวจีน แรงงานชาวจีนจำนวน 75 คนแรกเดินทางโดยรถไฟใช้เวลา 2 สัปดาห์ ข้ามฝั่งมาจาก San Francisco รายงานข่าวจากทาง Boston ระบุว่าเมื่อพวกแรงงานชาวจีนมาถึงผู้คนในเมือง North Adams ต่างรู้สึกถึงความไม่พอใจ พวกเขาถ่มน้ำลายใส่แรงงานกลุ่มนี้ นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ศิลปินได้สืบค้นข้อมูลและค้นพบภาพถ่ายซึ่งกลายเป็นสารตั้งต้นในงานสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ผ่านภาพถ่ายและบันทึกเพื่อหาความสัมพันธ์ของการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเหตุปัจจัยในการโยกย้ายถิ่นฐานของชาวจีนที่เมือง North Adams เพื่อรื้อสร้าง(Deconstruction) ประวัติศาสตร์ของพื้นที่เสียใหม่ด้วยขนวนการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
โดยการสืบค้นจากภาพถ่าย เราสามารถเชื่อมต่อประเด็นเรื่องของที่ตั้ง สถานการณ์ และประสบการณ์ร่วมในพื้นที่ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง (Site, situation and experience) ซึ่งปัจเจกบุคคลอย่างเราๆ ไม่สามารถนิยามสถานที่ในอดีตแห่งนี้ได้หากปราศจากชุดข้อมูลใดๆ จะสังเกตเห็นได้ว่าพื้นที่และสถานที่ซึ่งถูกตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ๆ ซึ่งสามารถถูกยึดครอง มีตัวตนและถูกรับรู้ได้ เป็นพื้นที่ยึดครองโดยคุณค่าของวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อพิจารณาผลงาน The Nanjing Particles ในฐานะภาพถ่ายตามแนวคิดของ Susan Sontag สามารถกล่าวได้ว่า Document หรือภาพถ่ายต่างๆ ในอดีตก็คือบันทึกประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ในอดีตของผู้คนที่มีความน่าพิศวงต่อเราในปัจจุบันและอนาคต
ในขั้นตอนนี้ศิลปินได้ร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์ที่เมือง Albany มลรัฐ New York เพื่อแยกสารประกอบแร่ธาตุออกจากภาพถ่ายด้วยเครื่องขยายที่เรียกว่า electron microscope ด้วยขนาด 1 ล้าน volt เพื่อเป็นการส่องกล้องขยายสัดส่วนสิ่งต่างๆ ที่มีขนาดเล็กมากในระดับนาโนเมตร ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแล้วขยายให้สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติของเกล็ดของเหลวสีเงินที่แยกตัวออกจากพื้นผิวที่เคลือบอยู่บนกระดาษอัดภาพ ในฐานะเป็นจิตนการแห่งความจริง (imagined reality) เพื่อแกะเอาสิ่งที่ซ้อนอยู่ภายในพื้นผิวกระดาษอัดรูปออกมาให้เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่ง Starling ได้อธิบายว่าผลงาน The Nanjing Particles คือตัวอย่างผลการทำงานแบบ hybrid ระหว่างข้อมูลกับสสาร และความเป็นจริงจากสิ่งที่ผสมปนเปกันระหว่างเคมีกับดวงตา
ขั้นตอนต่อไปศิลปินได้เรนเดอร์รูปทรงผลึกของเหลวแล้วขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในอัตราส่วน 1 ล้านเท่าจากขนาดดั้งเดิมแล้วนำไปสแกนเป็นรูปทรง 3 มิติ ของสสารซึ่งมีรูปลักษณ์คล้ายกับภาพ Biomorphic ขนาดใหญ่ จากนั้นศิลปินได้ส่งภาพสแกน 3 มิติไปยังเมือง Nanjing ประเทศจีน เพื่อให้แรงงานชาวจีนทุบขึ้นรูปทรงด้วยมือ (Forged stainless steel) ด้วยวัสดุโลหะสแตนเลส จากนั้นช่างผู้ชำนาญชาวจีนได้ทำการประกอบรูปทรงแต่ละส่วนเข้าด้วยกันและขัดเงาจนแวววาวเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจะนำส่งกลับมาที่เมือง North Adams อีกที เพื่อนำมาจัดแสดงใน Mass MOCA’s (Massachusetts Museum of Contemporary Art) ที่ซึ่งครั้งหนึ่งก็คือโรงงานผลิตรองเท้า Sampson นั้นเอง
ส่วนสุดท้ายที่อยากพูดถึงในผลงาน The Nanjing Particles เห็นจะเป็นส่วนขยายภาพถ่ายจากภาพต้นฉบับทั้งสองภาพในขนาด 6 x 13 m ติดตั้งลงบนพนังขนาดใหญ่เกือบจรดเพดาน และรูที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นตามสัดส่วนเพื่อเปิดช่องให้ผู้ชมที่เดินเข้ามาจากด้านหน้าสามารถมองทะลุเห็นประติมากรรมตั้งอยู่เบื้องหลัง สะท้อนความมันวาวปรากฏอยู่กลางรูที่เจาะออก การที่ศิลปินนำภาพถ่ายต้นฉบับมาขยายคล้ายจะบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร เป็นการเชื่อมโยงพื้นที่จากอดีตในฐานะโรงงานทำรองเท้า Sampson’s Shoe Manufactory และพื้นที่ปัจจุบันในฐานหอศิลปะร่วมสมัย MASS MoCA (Massachusetts Museum of Contemporary Art) ให้มาบรรจบกันอย่างมีนัยสำคัญ
นิทรรศการ The Nanjing Particles (After Henry Ward, View of C.T. Sampson’s Shoe Manufactory, with the Chinese Shoemakers in working costume, North Adams and vicinity, ca. 1875), ครั้งนี้ถูกจัดแสดงขึ้นในช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันต่างเฝ้ามองการเติบโตของจีนในฐานะผู้นำทางเศรษฐกิจโลก ศิลปินอธิบายข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่และจากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ระบุว่า ชาวจีนที่มายังเมือง North Adams ในเวลานั้นเป็นกลุ่มแรงงานที่รับจ้างเพื่อมาสร้างทางรถไฟ แต่หลังจากศึกษาอย่างละเอียดศิลปินกลับพบข้อมูลที่สำคัญอันบ่งชี้ว่าพวกเขาคือแรงงานข้ามชาติกลุ่มแรกที่เดินทางไกลจากเวสต์โคสต์(West Coast) มาสู่ฝั่งอีสโครต์(East Coast) เพื่อเป็นลูกจ้างในโรงงานทำรองเท้าซึ่งห่างจากสถานีรถไฟไปเพียงฝั่งถนน
หากพิจารณาการรวมตัว(assemblage) ในความหมายเชิงเทคนิค พบว่าอิทธิพลเชิงกายภาพได้ปรากฏต่อเนื่องสืบมาบนไทม์ไลน์ในประวัติศาสตร์ศิลปะ และส่งต่อมาถึงศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันดังปรากฏเด่นชัดในผลงานของกลุ่มศิลปิน Young British Artists (YBA) ในผลงานของ Sarah Lucas, Damien Hirst และ Jake-Dinos Chapman และศิลปินร่วมสมัยอย่างเช่น Tomoko Takahashi, Christina Mackie และ Mike Nelson ที่สร้างผลงานศิลปะจัดวางขนาดใหญ่ด้วยการรวมเอาเศษวัสดุและของที่หาได้ทั่วๆ ไป มาจัดแสดงในหอศิลป์
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, 2558, วิธีวิทยาทางการเมือง Antonio Negri: ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการปฏิวัติของMultitude
Subjectivity, affect and place: Thinking with Deleuze and Guattari’s Body without Organs to explore a young girl’s becomings in a post-industrial locale, December 2013
Manuel DeLanda, 2017, Deleuzian Social Ontology and Assemblage Theory, Pratt Institute
Manuel DeLanda, 2006, A New Philosophy of Society : Assemblage Theory and Social Complexity